วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แชร์อินเตอร์เน็ตใน Home Network

การใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้คุ้มค่า สิ่งหนึ่งคือการได้เข้าไปใช้บริการข้อมูลหรือสิ่งที่ได้เปิดบริการไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ที่อยู่ในระบบ เช่น เข้าไปในไฟล์ หรือสั่งงานพิมพ์ผ่านระบบเครือข่าย

การค้นหาคอมพิวเตอร์ใน Network โดย Windows 2000/XP
1. คลิกปุ่ม Start -> Connect To -> Show all connections หรือดับเบิลคลิกที่ My Network Places ที่เดสก์ทอป แล้วคลิกที่ View workgroup computers จะพบกับไอคอนรูปเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดับเบิลคลิกที่ไอคอนรูปคอมพิวเตอร์ เครื่องที่เปิดแชร์ ก็จะพบกับไฟล์ที่อยู่ภายในโฟลเดอร์นั้น เราสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที เช่น ก๊อปปี้ได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้เปิดบริการไว้รูปแบบใดบ้าง เช่นเปิดแชร์แบบอ่านได้อย่างเดียว เราก็ไม่สามารถเข้าไปลบไฟล์ในเครื่องนั้นได้ และถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นให้ระบุรหัสผ่านก่อน เราก็ต้องใส่รหัสผ่านลงไปด้วย
2. เข้าไปในคอมพิวเตอร์เครื่องที่ต้องการได้โดยเรียกเมนู RUN ขึ้นมา พิมพ์ว่า \\two (เครื่องหมาย \\ ตามด้วยชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ) คลิกปุ่ม OK จะไปที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้เปิดแชร์ไว้ 3. อีกวิธีคือคลิกขวาที่ My Network Places เลือก Search for computers แล้วพิมพ์ชื่อเครื่องลงในช่อง Computer name: คลิ้กปุ่ม Search เพื่อค้นหาคอมพิวเตอร์ที่ระบุ เมื่อพบแล้วก็จะแสดงไอคอนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นให้เห็น ซึ่งสามารถดับเบิลคลิกเข้าไปดูได้เช่นกัน

การค้นหาคอมพิวเตอร์ใน Network โดยWindows95/98/Me
ดับเบิลคลิ้กไอคอน My Network Places -> Entire Network จะพบว่ามีเวิร์กกรุ๊ป Mshome แสดงอยู่ ให้ดับเบิลคลิกเข้าไปในเวิร์กกรุ๊ป จะเห็นไอคอนรูปคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ดับเบิ้ลคลิ้กเข้าไปในรูปคอมพิวเตอร์ที่ได้เปิดแชร์ไว้ ดับเบิลคลิ้กเข้าไปอีกจะเห็นว่ามีไฟล์ปรากฏอยู่ ส่วนวิธีอื่นก็ใช้ได้เหมือนกับวิธีดังกล่าวมาในหัวข้อที่แล้ว

การแมปไดรฟ์
เราสามารถจำลองโฟลเดอร์ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเครือข่าย ให้มาเป็นไดรฟ์หนึ่งบนเครื่องของเราได้ เวลาเรียกใช้ก็แค่เปิด My Computer ขึ้นมาแล้วก็เข้าไปในไดรฟ์จำลองนั้นได้เลยเราเรียกวิธีการนี้ว่าการแมปไดรฟ์คลิ้กขวาที่โฟลเดอร์ที่เครื่องนั้นๆ ได้เปิดแชร์ไว้ เลือกเมนู Map Network Drive… จากนั้นเลือกชื่อไดรฟ์ที่ต้องการที่จะให้มาแสดงใน My Computer ของเรา ถ้าจะให้แมปไดรฟ์นี้ทุกครั้งที่เปิดเครื่องให้คลิ้กเครื่องหมายถูกที่ Reconnect at logon คลิ้กปุ่ม Finish จากนั้นลองเปิดดูใน My Computer จะพบกับไดรฟ์ Z: ที่เราได้ทำการแมปไว้ ซึ่งมีรูปท่อติดอยู่ด้วย ดับเบิ้ลคลิกเข้าไปใช้งานได้ทันที ส่วนการยกเลิกไดรฟ์ที่แมปนี้ ก็เพียงแต่คลิ้กขวาไดรฟ์ที่แมปแล้วเลือกเมนู Disconnect ไอคอนไดรฟ์ที่แมปไว้นี้จะหายไป วิธีการนี้ทำคล้ายๆ กันใน Windows ทุกเวอร์ชัน

การใช้เครื่องพิมพ์ผ่านเน็ตเวิร์ก
เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีเครื่องพิมพ์ติดตั้งไว้ ได้เปิดแชร์เครื่องพิมพ์แล้ว เราสามารถสั่งงานพิมพ์ผ่านระบบเครือข่ายได้ทันที แต่ก่อนอื่นต้องติดตั้งเครื่องพิมพ์ให้วินโดวส์รู้จัก
1. คลิ้ก Start -> Settings -> Printers ดับเบิลคลิ้ก Add Printer เลือกหัวข้อ Network Printer คลิ้กปุ่ม Browse… แล้วเลือกเครื่องพิมพ์ที่เปิดแชร์ (ถ้าไม่พบให้รีสตาร์ตคอมพิวเตอร์อีกครั้ง) จากนั้น Windows จะติดตั้งเครื่องพิมพ์ โดยเอาไดรเวอร์ในคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเครื่องพิมพ์มาติดตั้ง เมื่อติดตั้งสำเร็จ จะมีไอคอนเครื่องพิมพ์ที่มีท่อติดอยู่ด้านล่างหมายถึงเป็นเครื่องพิมพ์ผ่าน Network
2. ตอนสั่งพิมพ์ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าจะสั่งพิมพ์ผ่าน Network โดยเลือกเครื่องพิมพ์ก่อนในช่อง Name: สังเกตที่ Where: \\NEW\Connon\Bub หมายถึงเป็นเครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งอยู่ที่คอมพิวเตอร์ชื่อ ONE

สำหรับ Windows XP ที่ติดตั้ง Service Pack 2
ถ้าไม่สามารถเข้าไปใช้ข้อมูล และไม่สามารถใช้คำสั่ง Ping ไปยังเครื่องที่ใช้ Windows XP ได้ สาเหตุเกิดมาจากเครื่องนั้นใช้ Windows XP ติดตั้ง Service Pack 2 ได้มีการเปิดใช้ไฟล์วอลล์ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปในเครื่องนั้นได้ การแก้ไขคือต้องเปิดบริการ File and Printer Sharing ในเครื่องนั้นให้ใช้งานได้ด้วย จึงสามารถเข้าไปใช้ข้อมูลในเครื่องนั้นโดยเปิด Control Panel ดับเบิลคลิ้กไอคอน Windows Firewall ที่แถบ Exceptions ทำเครื่องหมายถูกหน้า File and Printer Sharing คลิ้กปุ่ม OKประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้หมดปัญหาในด้านการส่งถ่ายข้อมูล ไม่ว่าจะมีข้อมูลมากมายขนาดไหนก็ตาม ยกเว้นว่าฮาร์ดดิสก์นั้นไม่พอเก็บ ก็ต้องหามาเพิ่มตามระเบียบ.

อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย

นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 เครื่องขึ้นไปแล้ว ยังต้องมีอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างกันอีกด้วย ซึ่งจะต้องหาซื้อมาติดตั้งลงไปในเครื่อง อุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้งานคือการ์ดเน็ตเวิร์ก, สายแลนด์, หรือหัวต่อสายเคเบิ้ล, หัวต่อสายแลนด์, ฮับ, และสวิตช์

การ์ดเน็ตเวิร์ก (Network Card)NIC (Network Interface Card) การ์ดเน็ตเวิร์ก หรือการ์ดแลนด์ มีการนำมาใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ IBM PC นานร่วม 15 ปี มีหน้าที่ติดต่อสื่อสารและรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเมนเฟรม และ เครื่องไมโคคอมพิวเตอร์ ในอดีตการ์ดเน็ตเวิร์กจะเป็นแบบบัส ISA ซึ่งใช้เสียบลงไปบนสลอต ISA บนเครื่องคอมพิวเตอร์และต้องมานั่งเซตจั๊มเปอร์ของ IRQ. Address เพื่อไม่ให้ไปชนกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วยจากรูปที่ 2.1 เป็นการ์ดเน็ตเวิร์กแบบบัส ISA ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว จะเห็นว่าที่ด้านหลังมีขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4,BNC และ Au ขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4 จะต้องทำงานร่วมกับกล่องฮับ ส่วนขั้วเชื่อมต่อ แบบ BNC ไม่ต้องใช้ฮับร่วมทำงาน เพราะใช้ T-Connector และ Terminator (ตัวปิดหัวท้าย) แทนการ์ดเน็ตเวิร์กจะมีหลายแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสลอตบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ISA, PCI, PCMCIA USB Port หรือ Compact Flash
PCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นระบบบัสที่ได้รับความนิยมสูงมาก ซึ่งได้เข้า มาแทนบัสแบบ ISA PCI บัสมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 133 เมกกะไบต์ต่อวินาที นอกจากนี้ยังสามารถ กำหนดค่า IRQ,DMA, Memory Address ให้อุปกรณ์และการ์อินเทอร์เฟซอัตโนมัติ เมื่อเสียบการ์ดเน็ตเวิร์ก แบบ PCI ลงไปบนเครื่องแล้ว ส่วนมาจะมองเห็นและใช้งานได้ทันที PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Association) เป็นการ์ดเสียบขนาดเล็ก เท่ากับบัตรเครดิต เป็นอุปกรณ์ขยายระบบให้คอมพิวเตอร์ Notebook เช่น การ์ดหน่วยความจำ แฟกซ์ โมเด็ม การ์ดเน็ตเวิร์ก หรือ ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก USB Port (Universal Serial Bus) เป็นพอร์ตเชื่อมต่อแบบใหม่ที่สามารถจะนำอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อได้ จำนวนมากถึง 100 กว่าตัว